กลไลการรับรู้สื่อ

กิจกรรมที่  5  กลไลการรับรู้สื่อ
เวลา     50  นาที
วัตถุประสงค์
1.      เพื่อให้นักเรียนเข้าใจถึงกลไกลการรับรู้สื่อภายในร่างกาย
2.      เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักในขณะรับรู้สื่อจากภายนอก
อุปกรณ์
1.      สมุดบันทึก  ปากกา
2.      อุปกรณ์ใช้ในการทดสอบประสาทสัมผัสทั้ง 5
- รูปภาพคน ชาย/หญิง  รูปภาพอาหารน่ารับประทาน (ดู)
เพลงที่ให้อารมณ์ที่แตกต่างกัน สนุก/เศร้า (ฟัง)
- กลิ่มที่ให้ความรู้สึกแตกต่าง หอม/เหม็น (ดม)
- วัตถุที่มีลักษณะแตกต่างกัน นิ่ม/เปียก  (สัมผัส)
- ของกินที่รสชาติแตกต่างกัน อร่อย/เค็ม (ชิม)
       3. เครื่องเล่น CD/ CD เพลงประกอบ (อาจใช้เป็นวิทยุเทปก็ได้)

คำแนะนำก่อนทำกิจกรรม
          ผู้นำกิจกรรมควรพูดคุยกับนักเรียนถึงวัตถุประสงค์และลักษณะของกิจกรรม ว่าเป็นกิจกรรมที่ทุกคนต้องใช้สมาธิอยู่กับตัวเอง เพื่อสำรวจความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับตัวเองจริง ๆ ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่เหมือนเพื่อน ไม่ต้องกลัวผิด ดังนั้นจึงขอความร่วมมือให้นักเรียนอย่าพูดคุยกันในระหว่างการทำกิจกรรม จนกว่าผู้นำกิจกรรมจะอนุญาตให้พูดได้
            ควรมีพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม หรือผู้ช่วยที่จะค่อยนำภาพหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบให้เด็ก เพื่อความรวดเร็วอย่างน้อยกลุ่มละ 1 คน
            ในกรณีที่จะต้องให้นักเรียนชิมหรือดื่มน้ำที่เตรียมไว้ ควรเปลี่ยนหลอดให้กับทุกคนเพื่อความสะอาด และป้องกันโรคติดต่อ

ขั้นตอนการทำกิจกรรม
1.      แบ่งเด็กออกเป็นกลุ่ม ๆ ละไม่เกิน 10 คนเพื่อความสะดวกควรจัดให้ผู้เข้าร่วมนั่งดังนี้
2.      ผู้นำกิจกรรม ให้โจทย์ คือ เมื่อนักเรียนใช้ประสาทสัมผัสตามที่ผู้นำกิจกรรมกำหนดแล้วรู้สึกอย่างไร ให้บันทึกลงไปในสมุดบันทึกทันที

3.      เริ่มทดลองประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยเริ่มจาก


1.      หลังจากนั้นให้นักเรียนในกลุ่มได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเองได้บันทึกกับเพื่อน ๆ ในกลุ่มว่ารู้สึกเหมือน หรือแตกต่างกันอย่างไร
2.      เมื่อนักเรียนแลกเปลี่ยนกันหมดทุกคน ผู้นำกิจกรรมให้โจทย์เพิ่ม และให้ในกลุ่มช่วยกันคิดและเขียนลงในกระดาษ A4 ที่แจกให้ โดยมีคำถามว่า “โฆษณา เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเราอย่างไร”
3.      ให้ส่งตัวแทน กลุ่มละ 1 คน มานำเสนอ

สรุปกิจกรรม
            โฆษณา ใช้วิธีหลากหลายในการกระตุ้นความรู้สึกของคนผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งตัวที่ควบคุมภายในคือ จิต หรือที่เรียกว่า “จิตกำหนด” จึงทำให้เราเกิดความรู้สึก และเมื่อเราได้ดูโฆษณาซ้ำบ่อย ๆ ก็จะทำให้เราจดจำได้ในที่สุด และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในที่สุด ซึ่งเรสามารถแยกกลุ่มความรู้สึกได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.      ความรู้สึกเชิงบวก ได้แก่ ชอบ พอใจ สบายใจ เป็นต้น
2.      ความรู้สึกเชิงลบ ได้แก่ ไม่ชอบ ไม่พอใจ เกลียด ไม่ถูกใจ เป็นต้น
3.      ความรู้สึกเฉย ๆ
กลุ่มความจำ เกิดจากหน้าที่ของจิตใจที่ได้บันทึกสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัส และความทรงจำที่แม่นยำย่อมเกิดจากการรับสื่อนั้นซ้ำ ๆ หรือเกิดความรู้สึกชอบในสื่อนั้น ๆ
เมื่อนำมาเชื่อมโยงกันกับเรื่องของการรับรู้สื่อและโฆษณาเนื่องจากสื่อโฆษณา ส่วนใหญ่เน้นให้เกิดการรับรู้ทางตาและหูเป็นส่วนใหญ่ เช่น โฆษณาทางโทรทัศน์ สื่อโปสเตอร์ บิลบอร์ด  สปอตทางวิทยุ เป็นต้น ที่มีการโฆษณาที่น่าสนใจ ซึ่งมีหน้าที่คอยกระตุ้นจิตใจ ส่วนความรู้สึกชอบ พอใจ ติดใจ เมื่อมีการเผยแพร่ซ้ำ ๆ ก็จะกระตุ้นจิตใจ ส่วนความจำ ทำให้จำได้และแม่นยำ ซึ่งหากขาดทักษะด้านการ “รู้คิด” คือการมีสติรู้จักคิดพิจารณาไตร่ตรองถึงความถูกต้องเหมาะสม วิเคราะห์ในการรับสื่อต่าง ๆ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ดังนั้นส่วนสำคัญที่ต้องพัฒนาให้เกิดคือ “การรู้คิด”

ประเมินผล
1.      นักเรียนสามารถบันทึกความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากรับรู้สื่อ (วัตถุ) ผ่านประสาทสัมผัสที่ 5
2.      นักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับเพื่อนในกลุ่ม
3.      นักเรียนสามารถวิเคราะห์ได้ว่าสื่อและโฆษณามีอิทธิพล และเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้อย่างไร


-          (ไม่) อยากได้
-          (ไม่) อยากมี
-          (ไม่) อยากเป็น

ไม่มีความคิดเห็น