สาสน์วันสื่อมวลชนสากล ครั้งที่ 49

สมณสภาสื่อสารสังคม สันตะสำนัก
สาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส
โอกาสวันสื่อมวลชนสากล ครั้งที่ 49
“การสื่อสารในครอบครัว สถานที่พิเศษที่จะได้สัมผัสกับพระพรแห่งความรัก”
พระสังฆราชกิตติคุณยอร์ช ยอด พิมพิสาร, C.Ss.R. ถอดความ
พี่น้องชายหญิง ที่รัก
เรื่องครอบครัวเป็นเรื่องที่พระศาสนจักรพิจารณา ซึ่งเกี่ยวโยงถึงการประชุมสมัชชาสองครั้ง กล่าวคือ การประชุมวิสามัญและการประชุมสามัญ ซึ่งกำหนดไว้ในเดือนตุลาคมที่จะมาถึง ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเห็นว่าเหมาะสมที่จะให้หัวข้อฉลองวันสื่อมวลชนสากลเป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว อันที่จริงแล้วในบริบทของครอบครัวเป็นเรื่องแรกที่เราได้เรียนรู้ โดยเชื่อมโยงกับครอบครัว การเน้นบริบทนี้สามารถช่วยให้สื่อมวลชนของเราเป็นที่น่าเชื่อถือได้และมีมนุษยธรรม
            เราสามารถได้รับการดลใจจากข้อความพระวรสาร จากการที่พระมารดามารีย์ไปเยี่ยมนางเอลีซาเบธ   (ลูกา 1:39-56)เมื่อนางเอลีซาเบธได้ยินคำทักทายของพระนางมารีย์ บุตรในครรภ์ก็ดิ้น นางเอลีซาเบธได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยม ร้องเสียงดังว่า เธอได้รับพระพรยิ่งกว่าหญิงใดๆ และลูกของเธอก็ได้รับพระพรด้วย ”
            ก่อนอื่น เหตุการณ์นี้แสดงให้เราเห็นว่า การสื่อสารต้องควบคู่ไปกับการเสวนา พร้อมกับการใช้ภาษาร่างกาย การตอบสนองแรกต่อการทักทายของพระนางมารีย์ เป็นทารกที่เป็นผู้ให้ ด้วยการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วยความยินดีในครรภ์ของนางเอลีซาเบธ ความยินดีที่ได้พบผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเรียนรู้ก่อนเกิด นับเป็นอวัยวะที่เป็นรูปแบบและเครื่องหมายของสื่อในรูปแบบอื่นๆ ครรภ์ต้อนรับเราเป็นโรงเรียนแรกของการสื่อสาร เป็นที่สำหรับฟังและการสัมผัสด้วยร่างกาย เป็นการสัมผัสของร่างกาย ซึ่งทำให้เราคุ้นเคยกับโลกภายนอกในสภาพแวดล้อมที่ได้รับการปกป้อง พร้อมกับเสียงหัวใจเต้นของมารดา การพบปะระหว่างบุคคลสองคนนี้เกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิด ในขณะที่เป็นคนละคนกัน การสัมผัสที่เปี่ยมด้วยคำมั่นสัญญา เป็นการสัมผัสครั้งแรกของเรากับสื่อ เป็นประสบการณ์ที่เรามีส่วนร่วมด้วย เหตุว่าเราแต่ละคนเกิดมาจากมารดา
            แม้เราจะได้เข้ามาในโลกก็ตาม เราก็คล้ายกับว่ายังอยู่ในครรภ์ของมารดา ซึ่งก็คือครอบครัวนั่นเอง ครรภ์ประกอบไปด้วยบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวพันกันเป็นครอบครัว ซึ่งประกอบไปด้วยหลายบุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน ครอบครัวคือสถานที่ที่เราเรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตด้วยกันในความแตกต่าง (Evangelii Gaudium, 66) แม้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของเพศและวัยระหว่างพวกเขาก็ตาม สมาชิกในครอบครัวยอมรับกันและกัน เหตุว่ามีความเกี่ยวพันระหว่างพวกเขา การมองความสัมพันธ์ต่างๆ เหล่านี้ และยิ่งมีความแตกต่างด้านอายุ ความแตกต่างในการดำเนินชีวิตที่หลากหลาย เรามิได้สร้างภาษาต่างๆ ขึ้นมา แต่เราใช้ภาษาต่างๆ ได้เพราะเราได้รับมาในครอบครัวนั่นเองที่เราเรียนรู้ ที่จะพูด “ภาษาแม่ของเรา” เป็นภาษาของผู้ที่เราได้มาจากปู่ย่าตาทวดของเรา (ดู 2 มัคคาบี 7:25,27) ในครอบครัวเราจึงสำนึกได้ว่ามีผู้อื่นอยู่ก่อนเรา พวกท่านทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ และเมื่อถึงเวลาก็ผลิตชีวิตขึ้นมา และช่วยให้เรากระทำสิ่งที่ดีและงดงาม เราให้ได้เพราะเราได้รับมา วงจรแห่งความดีงามคือหัวใจของครอบครัว ช่วยครอบครัวถ่ายทอดให้แก่สมาชิกและกับผู้อื่น ในวงที่กว้างกว่าครอบครัวเป็นรูปแบบขั้นพื้นฐานของสื่อ
            ประสบการณ์กับความสัมพันธ์ ซึ่งมาก่อนหน้าเราช่วยให้ครอบครัวเป็นเวทีที่สื่อขั้นพื้นฐานได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งก็คือการภาวนา ได้รับการถ่ายทอดมาเมื่อบิดามารดาทำให้ทารกที่เกิดใหม่นอนหลับ พวกท่านมักจะมอบหมายให้กับพระเจ้า วอนขอพระองค์ให้ช่วยดูแลลูกๆ ของท่าน เมื่อเด็กๆ เติบโตขึ้นสักหน่อยบิดามารดาก็ช่วยให้เขาสวดบทภาวนาง่ายๆ คิดถึงผู้อื่นด้วยความรัก เช่น ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้อง คนป่วยและคนที่เจ็บปวด และทุกคนที่ต้องการความช่วยเหลือจากพระเจ้า ภายในครอบครัวของเรานี่เองที่เราเรียนรู้ถึงมุมมองเกี่ยวกับศาสนาในสื่อ ซึ่งในกรณีของคริสตศาสนาจะเปี่ยมด้วยความรัก ความรักที่พระเจ้าทรงมอบให้แก่เราและเรามอบให้แก่ผู้อื่นต่อไป
            ในครอบครัว เราเรียนรู้ถึงการโอบกอดและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรียนรู้การทำหน้าทำตา และเมื่อไรเราควรเงียบ เมื่อไรควรหัวเราะหรือร้องไห้ กับผู้ที่เรายังไม่เลือกกันและกัน แต่ก็มีความสำคัญแก่กันและกันมาก สิ่งเหล่านี้ช่วยให้เราเข้าใจว่า “สื่อ” หมายถึงการสังเกตเห็นและการสร้างความใกล้ชิด เมื่อค่อยๆ ขจัดการอยู่ห่างไกลด้วยการเข้าหากันให้ใกล้ชิดมากขึ้น และยอมรับซึ่งกันและกัน เรารู้สึกขอบใจและมีความชื่นชมยินดี คำทักทายของพระนางมารีย์และการปลุกบุตรของเอลีซาเบธให้เคลื่อนไหว ซึ่งตามมาด้วยบทสรรเสริญ “วิญญาณข้าพเจ้าถวายสดุดี” ซึ่งเป็นบทที่พระนางมารีย์สรรเสริญแผนการแห่งความรักของพระเจ้าสำหรับพระนางและสำหรับประชาชน คำว่า “ยินดีน้อมรับ” ที่กล่าวด้วยความเชื่อสามารถก่อให้เกิดสิ่งที่เรามิได้คาดคิดในโลก การเยี่ยมคือการเปิดประตู มิใช่ปิดประตู เก็บตัวอยู่ในโลกเล็กๆ ของเราเอง แต่ออกไปหาผู้อื่น เช่นเดียวกันครอบครัวจะมีชีวิตเมื่อออกจากโลกเล็กๆ ของตัวเอง ครอบครัวที่กระทำดังนี้ ก็คือครอบครัวที่ให้สาสน์แห่งชีวิตและความเป็นหนึ่งเดียวกันแก่โลก
มากกว่าที่อื่น ครอบครัวเป็นที่ซึ่งเราสัมผัสทุกวันกับความมีขอบเขตของเราและของผู้อื่น เรามีปัญหาทั้งใหญ่และเล็กในการอยู่อย่างสันติกับผู้อื่น เป็นปัญหาใหญ่หรือเล็กที่เราต้องเผชิญในการดำเนินชีวิตอย่างสันติ เผชิญกับปัญหาเล็กหรือใหญ่ ซึ่งมาจากการอยู่กับผู้อื่นในสันติ ครอบครัวที่เรารักกันและกันต่อไป แม้เราจะมีข้อบกพร่องและบาป ซึ่งกลายเป็นโรงเรียนแห่งการให้อภัย ครอบครัวที่ดีครบทุกอย่างนั้นไม่มี เราไม่ควรหวาดกลัวความไม่ดี ความอ่อนแอ หรือแม้การกระทบกระทั่งกัน แต่พยายามแก้ไขให้เผชิญกับปัญหา แต่ในด้านบวก ครอบครัวที่เราพยายามรักกันและกันจะกลายเป็นกรอบที่ให้อภัย การให้อภัยนับว่าเป็นขบวนการของสื่อ เมื่อความเสียใจได้แสดงออกมาและได้รับการให้อภัย เด็กๆ ที่ได้เรียนจากครอบครัวให้รับฟังผู้อื่น พูดอย่างนบนอบ และแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตนเอง โดยไม่ลืมฟังผู้อื่น จะเป็นพลังสำหรับการเสวนาและการคืนดีกันในสังคม
            เมื่อกล่าวถึงเรื่องการท้าทายของสื่อ ครอบครัวที่ลูกหนึ่งคนหรือมากกว่าที่ร่างกายไม่ปกติมีบทเรียนที่จะสอนเราได้มาก หากมีเด็กที่มีปัญหาทางสมอง อาจเป็นเหตุผลให้เราพิจารณาตัวเราเองอย่างใกล้ชิด แต่เพราะความรักของบิดามารดา เขาอาจเป็นเด็กและเพื่อน เป็นโอกาสให้เปิดใจ และติดต่อกับผู้อื่นได้ทุกคน และยังสามารถช่วยโรงเรียนจัดและให้กลุ่มต่างๆ เปิดใจแบ่งปันและพร้อมที่จะสัมผัสกับทุกคนที่จะต้อนรับและเป็นสื่อกับทุกคน
            ในโลกที่ผู้คนมักจะใช้คำด่า หรือภาษาสกปรก กล่าวร้ายต่อผู้อื่น ยุให้ทะเลาะกัน และใส่พิษร้ายแห่งการนินทา ครอบครัวอาจช่วยสอนเราให้เข้าใจว่าสื่อคือพรสวรรค์ ในที่ซึ่งมีแต่ความเกลียดชังและความรุนแรง ครอบครัวแตกแยกกันโดยมีกำแพงหิน หรือกำแพงอคติและความเคียดแค้น ในที่ซึ่งมีเหตุผลเพียงพอที่จะกล่าว “พอกันที” อาศัยการให้พรแทนที่จะสาปแช่ง การไปเยี่ยมแทนแสดงซึ่งความเกลียดชัง ในที่ซึ่งมีเหตุผลพอที่จะกล่าวว่า “พอกันเสียที” เราต้องใช้การให้พรแทนที่จะสาปแช่ง การไปเยี่ยมแทนการหลบหน้า การให้พระดีกว่าที่จะสาปแช่ง ที่เราสามารถหยุดความชั่วที่เพิ่มมากขึ้น ให้แสดงว่าความดีนั้นมีขึ้นได้เสมอ และพยายามสอนลูกๆ ของเราให้เน้นเรื่องมิตรภาพ
            ในปัจจุบัน สื่อสมัยใหม่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในชีวิตสำหรับผู้เยาว์วัยโดยเฉพาะ สามารถช่วยหรือขัดขวางสื่อในและระหว่างครอบครัว สื่อสามารถจะเป็นอุปสรรค หากสื่อกลายเป็นหนทางที่หลบหลีกการรับฟังผู้อื่น พยายามหลีกการสัมผัส หาเรื่องมาพูดในช่วงเวลาที่เงียบและพักผ่อน จนเราลืมว่าความเงียบเป็นสิ่งสำคัญในสื่อ หากไม่มี วาจาที่มีคุณค่าก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ (สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที่ 16 สาส์นวันสื่อมวลชนสากล  ค.ศ. 2012) สื่อมวลชนสามารถช่วยสื่อเพื่อช่วยให้ประชาชนแบ่งปันเรื่องราวของเขา เพื่อติดต่อกับมิตรที่อยู่ไกล เพื่อขอบคุณผู้อื่น หรือแสวงหาการให้อภัย และเปิดประตูพบคนใหม่ การเติบโตแต่ละวันในความสำนึกว่า เรามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสัมผัสกับผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่เป็นไปได้ เราจะใช้เทคโนโลยีอย่างเฉลียวฉลาดแทนที่จะให้สื่อมวลชนมาครอบงำเรา ในที่นี้ด้วยที่บิดามารดาเป็นผู้สอนรุ่นแรกๆ แต่ปล่อยไว้ตามเรื่องไม่ได้ ชุมชนคริสตชนได้รับการเรียกร้องให้ช่วยท่านในการสอนลูกๆ ให้รู้จักเจริญชีวิตในท่ามกลางสื่อสารมวลชนให้สอดคล้องกับศักดิ์ศรีของมนุษย์ และรับใช้คุณความดีของส่วนรวม
            สิ่งท้าทายที่เราต้องเผชิญในปัจจุบันก็คือ การเรียนรู้ที่จะพูดคุย มิใช่เพียงเป็นการผลิตและนำสื่อไปใช้เท่านั้น เรื่องนี้เป็นสิ่งที่สื่อมวลชนสมัยใหม่ซึ่งมีอิทธิพลควรได้รับการสนับสนุน ข้อมูลต่างๆ ล้วนมีความสำคัญ แต่ไม่พอเพียง บ่อยครั้งมีการจัดให้เป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยาก การแสดงออกซึ่งแนวความคิดต่างๆ และความเห็นต่างๆ ถูกนำเอามารวมกัน และผู้คนได้รับเชิญให้เข้าข้างใดข้างหนึ่ง แทนที่จะมองดูสถานการณ์ในแนวรวม
            สรุปก็คือ ครอบครัวมิใช่สิ่งที่โต้เถียงกันหรือเป็นที่เผชิญหน้ากันในด้านความคิด แต่เป็นสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยให้เราสื่อเกี่ยวกับความใกล้ชิด เป็นสถานภาพที่การสื่อสารเกิดขึ้น หรือ “กลุ่มชนที่สื่อต่อกันและกัน” ครอบครัวคือชุมชนที่จัดให้มีการช่วยเหลือกัน ที่เฉลิมฉลองชีวิตและได้ผล เมื่อใดที่เราตระหนักดีในเรื่องนี้ เราก็สามารถเห็นว่าครอบครัวยังคงเป็นแหล่งที่มาที่เปี่ยมด้วยความช่วยเหลือกันและกันของมนุษย์ ตรงกันข้ามกับปัญหาขององค์กรที่กำลังมีปัญหาหนัก บางครั้งสื่อมวลชนมักจะเสนอครอบครัวในรูปแบบของตัวอย่างที่ลอยอยู่บนเวหา ซึ่งจะต้องน้อมรับหรือปฏิเสธ ปกป้องหรือโจมตี แทนที่จะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่จริง หรือไม่ก็เป็นสนามรบเพื่อต่อสู้กัน แทนที่จะเป็นสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ด้วยกันว่า การสื่อสารในความรักที่ได้รับและที่มีการตอบแทน มีความหมายว่าอย่างไร โดยสำนึกว่าชีวิตของเราผูกพันกันเป็นความจริงข้อเดียวว่า เสียงของเรานั้นมีมากมาย และแต่ละเสียงก็มีสิ่งที่น่ารับฟัง เราควรมองดูว่าครอบครัวเป็นแหล่งที่ดี มิใช่เป็นที่มาของปัญหาสำหรับสังคม สิ่งดีที่สุดที่ครอบครัวมอบให้สังคม และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชายและหญิง ระหว่างบิดามารดากับลูกๆ เรามิได้ต่อสู่เพื่อปกป้องอดีตแก่เราด้วยความอดทนและความหวัง เรากำลังช่วยกันสร้างอนาคตที่ดีสำหรับโลกที่เราอาศัยอยู่
           
ให้ไว้ ณ สำนักวาติกัน วันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 2015
วันก่อนฉลองนักบุญฟรังซิส เดอ ซาลส์
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส

ไม่มีความคิดเห็น