บ้านในฝัน



กิจกรรมที่ 2 บ้านในฝัน
เวลา     40 นาที
วัตถุประสงค์
            เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักบทบาทของตนในฐานะผู้บริโภคภายใต้สังคมยบริโภคนิยาม
อุปกรณ์
1.      กระดาษปรู๊ฟ
2.      สีชอล์ก
ขั้นตอนกิจกรรม
1.      แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 7-8 คน
2.      ถ้าผู้นำกิจกรรมพูดว่า “ลมเพลมพัด” ให้นักเรียนตอบกลับมาว่า “ลมพัดอะไร” แล้วทำตามคำสั่ง เช่น ถ้าบอกว่าให้แต่ละกลุ่มต่อตัวกัน เป็นรูปอะไรก็ให้ให้นักเรียนทำตาม เช่น ให้ต่อตัวกันเป็นดอกไม้ 1 ดอก ก็ให้แต่ละกลุ่มทำ และสั่งเป็นรูปอื่น ๆ เช่น พระอาทิตย์ บ้าน ตามลำดับ
3.      แจกกระดาษให้แต่ละกลุ่มช่วยกันวาดบ้านในฝัน สมมติถ้าเรามีบ้านในอนาคตเราอยากให้บ้านของเรามีลักษณะอย่างไร มีขนาดกว้างเท่าไร มีจำนวนห้องกี่ห้อง ในแต่ละห้องมีอุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้อะไรอยู่ในห้องนั้น ๆ บ้าง โดยที่ให้วาดบ้านเป็นลักษณะผ่าครึ่งที่ต้องเห็นทุกอย่างภายในบ้าน (ลักษณะคล้าย ๆ กับบ้านตุ๊กตา)
4.      ให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอบ้านในฝันของกลุ่มตัวเอง
5.      ชวนนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยน คิดว่าบ้านแบบนี้มีจริงไหม... เคยเห็นที่ไหน บ้านแต่ละหลังเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ทำไมเราถึงอยากมีบ้านแบบนี้ ถ้ามีแล้วจะให้ความรู้สึกอย่างไร เพราะอะไร

สรุปกิจกรรม
          สิ่งที่เราเห็นภายในบ้านก็คือภาพสะท้อนชีวิตของคนในปัจจุบัน ที่ทุก ๆ บ้านจะบริโภคสิ่งของที่เหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน เราเรียกสังคมเหล่านี้ว่า “สังคมบริโภคนิยม”
            สังคมบริโภคนิยม คือ สังคมที่มุ่งเน้นการบริโภค โดยที่การบริโภคเหล่านั้น ไม่ได้ถูกจำกัดแค่การกินหรือการใช้สินค้าเท่านั้น  แต่ยังรวมหมายถึงการบริโภคเพื่อตอบสนองความอยากทางจิตใจ เช่น บริโภคเพื่อต้องการให้สังคมรู้ว่าตนรสนิยมดีมีฐานะ ด้วยการนั่งรถที่มีราคาแพง ไปซื้อเสื้อผ้าที่ห้างสรรพสินค้าชื่อดัง ไปรับประทานอาหารที่ร้านหรู ๆ หรือ การทำตัวไม่ตกยุคด้วยการซื้อสินค้าตามโฆษณาตัวใหม่ เป็นต้น

ประเมินผล
·       เด็กให้ความร่วมมือกับกิจกรรม เช่น ช่วยกันระดมและวาดรูปบ้านตามที่โจทย์กำหนดให้
·       นักเรียนสามารถสะท้อนภาพสังคมในปัจจุบันได้


สังคมบริโภคนิยมประกอบด้วย ผู้ผลิต และผู้บริโภค



            พฤติกรรมการบริโภคของคนยุคนี้เต็มไปด้วย “ความต้องการ” เป็นแรงขับภายในจิตใจ และมี “สื่อโฆษณา” ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในยุคบริโภคนิยมที่คอยกระตุ้นเร้าให้เกิดความอยากรู้ อยากลอง และอยากได้จนเกิดเป็นพฤติกรรมการซื้อจ่ายสินค้ามาในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น