สาส์นวันสื่อมวลชนสากล ครั้งที่ 51


สาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส
วันสื่อมวลชนสากล ครั้งที่ 51

“อย่ากลัวเลย เพราะเราอยู่กับท่าน” (อิสยาห์ 43:5)
การใช้สื่อแห่งความหวังและความไว้วางใจในยุคของเรา

พระสังฆราชกิตติคุณยอร์ช ยอด พิมพิสาร, C.Ss.R. ถอดความ

วิธีการเข้าถึงสื่อ  ต้องขอบคุณความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้ผู้คนเป็นจำนวนมากสามารถได้มีส่วนรับรู้ข่าวสารในทันทีทันใด และนำไปเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ข่าวนั้นอาจมีทั้งดีและไม่ดี จริงหรือเท็จบ้าง คริสตชนรุ่นแรกเปรียบเทียบจิตใจของเราเป็นคล้ายกับหินที่ถูกบดให้ละเอียด มันขึ้นอยู่กับเจ้าของโรงโม่ว่าเขาจะบดให้เป็นข้าวสาลีที่ดี หรือจะเป็นวัชพืชที่ไร้ประโยชน์ จิตใจของเราทำงานอยู่ตลอดเวลา แต่มันขึ้นอยู่กับเราว่าจะป้อนอะไรเข้าไป (ดู SAINT JOHN CASSIAN, Epistle to Leontius)
ข้าพเจ้าปรารถนาจะเผยแพร่สาส์นนี้แก่ทุกคน ไม่ว่าในการทำงานนี้หรือการติดต่อบุคคล เปรียบเสมือนโรงสี ตัดสินข่าวที่ได้มาด้วยจุดมุ่งหมายที่จะมอบสิ่งที่ดีงามที่สุดแก่ผู้ที่เข้าติดต่อ ข้าพเจ้าปรารถนาจะให้กำลังใจแก่บรรดาผู้ที่สื่อสารสิ่งที่เป็นประโยชน์ การกระทำนี้แก่ผู้ที่สื่อสาร ข้าพเจ้าปรารถนาจะให้กำลังใจแก่ทุกคนที่ต้องการเผยแพร่สิ่งที่มีประโยชน์ และพยายามขจัดสิ่งที่ทำลายผู้อื่น และส่งเสริมวัฒนธรรม การต่อสู้กันและช่วยให้เราทุกคนมองดูโลกรอบตัวเราด้วยความจริงใจและด้วยความไว้วางใจ
ข้าพเจ้าแน่ใจว่า เราต้องขจัดวงจรอุบาทว์แห่งความห่วงใยและขจัดความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นจากการให้ความสำคัญกับการกระจาย “ข่าวที่ไม่ดี” (เช่น สงคราม การก่อการร้าย เรื่องอื้อฉาวและความผิดพลาดของมนุษย์จำนวนมากมาย) ที่กล่าวมานี้ไม่ได้กล่าวถึงการสื่อสารที่ไม่ถูกต้องที่ไม่สนใจความเสียหายของมนุษย์ และมันไม่ใช่เกี่ยวกับการปิดหูปิดตาต่อความผิดพลาด ข้าพเจ้าตั้งใจจะเสนอให้ร่วมใจกันทำงาน การเติบโตของความไม่พอใจและการยอมรับ ซึ่งบางครั้งอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ความหวาดกลัว หรือความคิดที่ว่าความชั่วย่อมไม่มีขอบเขต นอกจากนั้นในอาชีพสื่อมวลชนซึ่งคิดว่าข่าวดีขายไม่ออก และความเจ็บปวดของมนุษย์ สิ่งที่เราคิดว่าความชั่วอาจจะเปลี่ยนเป็นการให้ความสนุก เราต้องระมัดระวังความคิดที่ว่า มโนธรรมของเราอาจจะมืดมิด และเข้าสู่การมองโลกในแง่ร้าย
ดังนั้น ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะมีส่วนในการแสวงหา การเปิดใจและการสื่อสารที่ไม่พยายามเห็นดีเห็นชอบกับความชั่ว และแทนที่ด้วยการสนใจอยู่กับการแก้ไข และช่วยให้มีแรงบันดาลใจในเชิงบวก และมีความรับผิดชอบในส่วนของผู้ที่ได้รับสาส์น ข้าพเจ้าวอนขอทุกคนให้เสนอแก่ประชาชนได้สัมผัสกับข่าวที่เป็น “ข่าวดี”

ข่าวดี
ชีวิตมิใช่เป็นแต่เพียงเรื่องที่เกิดขึ้น แต่เป็นประวัติศาสตร์ที่รอคอยผู้ที่จะนำไปใช้ โดยผ่านทางการตรวจตราที่สามารถเลือกสิ่งที่เกิดขึ้นที่มีประโยชน์ในตัวของมันเอง ความจริงไม่มีความหมายที่ชัดเจน มันขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้มองดูทุกอย่างด้วยกล้องขยายที่เราใช้มองดู หากเราเปลี่ยนกล้องขยายนั้น ความจริงนั้นเป็นสิ่งที่แปลก หากเป็นเช่นนี้เราจะเริ่ม “อ่าน” ความจริงโดยใช้กล้องขยายที่เหมาะสม
สำหรับเราคริสตชน กล้องขยายนั้นให้แต่ข่าวดี โดยเริ่มจากข่าวดีที่ยิ่งใหญ่ “การเริ่มต้นข่าวดีเรื่องพระเยซูเจ้าเป็นพระคริสต์ พระบุตรของพระเจ้า” (มาระโก 1:1) อาศัยคำพูดนี้นักบุญมาระโกเปิดพระวรสารของท่าน มิใช่เพียงเล่าถึงแต่ “ข่าวดี” เกี่ยวกับพระเยซูเจ้า แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับข่าวดี คือพระเยซูเจ้าพระองค์เอง การอ่านพระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก เราได้เรียนรู้ถึงหัวข้อที่ตรงต่อบทความที่เขียน แต่เหนือสิ่งอื่นใด ข้อความนี้คือพระเยซูเจ้าพระองค์เอง
ข่าวดีนี้พระเยซูเจ้าพระองค์เองเป็นข่าวดีมิใช่มันไม่มีอะไรเกี่ยวกับความทุกข์ยาก แต่เพราะเหตุว่าความเจ็บปวดในตัวของมันเองกลายเป็นส่วนหนึ่งของรูปภาพนี้ เรามองดูว่ามันเป็นส่วนที่สำคัญของพระเยซูเจ้า กล่าวคือ เหตุที่ว่าพระบิดาเจ้าเป็นของมวลมนุษย์ ในพระคริสตเจ้าพระเป็นเจ้าทรงแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับสถานภาพของมนุษย์ พระองค์ตรัสกับเราว่า เรามิได้อยู่เพียงคนเดียว แต่เรามีพระบิดาผู้สนพระทัยในบรรดาสานุศิษย์ของพระองค์ “อย่ากลัว เลย เพราะเราอยู่กับท่าน” (อิสยาห์ 43:5) นี่คือพระวาจาที่ให้เราได้รับความสบายใจ เป็นพระวาจาของพระเจ้าซึ่งมาจากประวัติศาสตร์ของประชากรของพระองค์ ในองค์พระบุตรของพระองค์เราจะได้ยินคำสัญญานี้ว่า “เราอยู่กับพวกท่าน” ซึ่งหมายถึงความอ่อนแอทั้งหมดของพวกเรา แม้กระทั่งการสิ้นใจของพวกเราในองค์พระบุตร แม้ความมืดและความตายจะเป็นจุดเผชิญกับความสว่างและชีวิต เราไว้วางใจ ความหวังที่ทุกคนเข้าถึง เป็นถนนที่มีชีวิต พบกับความขมขื่นแห่งความผิดหวัง “ความหวังนี้ไม่ทำให้เราผิดหวังเพราะพระจิตเจ้าซึ่งพระเจ้าประทานให้เรา ทรงหลั่งความรักของพระเจ้าลงในดวงใจของเรา” (โรม 5:5) แล้วทำให้มีชีวิตใหม่เกิดขึ้นเหมือนกับต้นไม้ที่เติบโตขึ้นหลังจากเมล็ดร่วงหล่นลงมา หากเรามองในแง่นี้ สิ่งน่ากลัวทั้งหลายที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของโลก เป็นจุดเริ่มต้นของข่าวดี เช่นเดียวกันกับความรักที่มีหนทางช่วยให้เรายกจิตใจที่น่าสงสาร มีหน้าที่ตั้งมั่น มีแขนที่พร้อมจะเริ่มต้นใหม่

ความไว้วางใจในเมล็ดแห่งพระอาณาจักร
เพื่อเริ่มต้นพระวรสารให้แก่สาวกของพระองค์ และให้ฝูงชนได้สัมผัสกับพระวรสารและให้มองดูโดยใช้ “กล้องขยาย” ที่จำเป็นเพื่อจะได้มองเห็นและโอบกอดความรักที่ตายและกลับคืนพระชนมชีพ พระเยซูเจ้าทรงใช้นิทานเปรียบเทียบ หลายครั้งพระองค์ทรงเปรียบพระอาณาจักรของพระเจ้าเป็นเมล็ดพืชที่สัมผัสกับชีวิต โดยเฉพาะเมื่อตกอยู่ในแผ่นดิน (มาระโก 4:1-34)การใช้รูปภาพและคำเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นถึงพลังเงียบแห่งพระอาณาจักร มิได้ทำให้หมดความสำคัญหรือเร่งด่วน แต่มันเป็นวิธีให้มีไว้เพื่อผู้รับฟังได้เป็นอิสระในการยอมรับและนำพลังนี้ไปปฏิบัติ นอกจากนั้นยังเป็นหนทางที่ถูกต้องในอันที่จะกล่าวถึงเกียรติยศอันยิ่งใหญ่แห่งรหัสธรรมปัสกา รูปภาพไม่ใช่เป็นแต่เพียงความคิดที่จะแบ่งปัน คำเปรียบเทียบของชีวิตใหม่ในพระคริสตเจ้าในชีวิตนั้นความยากลำบากและกางเขนมิใช่เป็นอุปสรรค แต่บันดาลให้เกิดความรอดของพระเจ้า ความอ่อนแอยังพิสูจน์ให้เห็นว่ามีพลังมากกว่าพลังของมนุษย์ และความผิดพลาดเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทุกสิ่งสำเร็จไปในความรัก นี่คือวิธีในพระอาณาจักรของพระเจ้าที่ครบครันและลึกซึ้ง “พระอาณาจักรของพระเจ้ายังเปรียบเสมือนคนที่นำเมล็ดพืชไปหว่านในดิน เขาจะหลับหรือตื่น กลางคืนหรือกลางวัน เมล็ดนั้นก็งอกขึ้นและเติบโต เป็นเช่นนี้ได้อย่างไรเขาไม่รู้” (มาระโก 4:26-27)
พระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ในท่ามกลางเราแล้ว ในรูปแบบของเมล็ดพืชที่เราอาจจะมองข้ามไป แต่เมล็ดพืชเหล่านี้แผ่ราก สำหรับผู้ที่พระจิตเจ้าได้ทรงประทานก็จะมองเห็นการออกผลผลิต มันจะไม่ปล่อยให้ผู้ใดมาขโมยเอา ความชื่นชมยินดีแห่งพระอาณาจักรโดยผ่านทางต้นไม้ที่งอกขึ้น

เรื่องที่เกี่ยวกับพระจิตเจ้า
ความหวังของเราซึ่งมีรากฐานในข่าวดี ซึ่งพระเยซูเจ้าพระองค์เองเชิญให้เราเปิดตาเพื่อมองดูองค์พระผู้เป็นเจ้าในพิธีกรรมวันสมโภชพระเยซูเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ แม้ว่าพระเจ้าดูเหมือนจะห่างไกลมากกว่าเดิมแต่ความหวังขยายตัวมากขึ้นในพระคริสตเจ้า ผู้ทรงนำเอาร่างกายของมนุษย์ไปสู่สวรรค์ บัดนี้มนุษย์ทั้งชายและหญิงเข้าสู่สวรรค์ “เดชะพระโลหิตของพระเยซูเจ้า โดยทางใหม่ที่ให้ชีวิตซึ่งพระองค์ทรงเปิดไว้ให้เราผ่านทะลุม่านเข้าไป ม่านนี้คือพระวรกายของพระองค์” (ฮีบรู 10:19-20) “เดชะพระอานุภาพของพระจิตเจ้า” เราสามารถเป็น “ประจักษ์พยาน” และเผยแพร่มนุษย์ใหม่และได้รับการไถ่บาป “จนถึงสุดปลายแผ่นดิน” (กิจการ 1:7-8)

ความไว้วางใจในเมล็ดพืชแห่งพระอาณาจักรของพระเจ้า และในอัศจรรย์ของการกลับคืนชีพของพระเยซูเจ้า ควรจะเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราเสนอ ความไว้วางใจช่วยให้เราดำเนินกิจการของเราต่อไปในหนทางต่างๆ ที่ใช้กันในการเผยแพร่ด้วยความมั่นใจว่า เราสามารถมองเห็นและเน้นข่าวดีในเรื่องราวและในหน้าตาของมนุษย์แต่ละคน
ผู้ที่มอบตัวเราเองภายใต้การแนะนำของพระจิตเจ้ามาสำนึกว่าพระองค์เองทรงประทับอยู่และทรงประกอบกิจการในทุกวินาทีของชีวิตเราและในประวัติศาสตร์ของเรา ทำให้ประวัติศาสตร์แห่งการกอบกู้ได้เป็นที่รู้จักต่อไป ความหวังเป็นเสมือนเส้นด้ายที่ประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ และผู้ที่ทำงานนี้มิใช่ใครอื่นนอกจากพระจิตเจ้า ผู้ทรงบรรเทาใจเรา ความไว้วางใจเป็นฤทธิ์กุศลที่ถ่อมตน เพราะมันซ่อนอยู่ในส่วนลึกของชีวิตเรา แต่ก็เป็นเสมือนเชื้อแป้งที่ใช้ เราหล่อเลี้ยงด้วยการอ่านพระวรสารใหม่ที่พิมพ์ในรูปแบบต่างๆ ในชีวิตของนักบุญซึ่งเป็นภาพสะท้อนถึงความรักของพระเจ้าในโลกนี้ ในวันนี้พระจิตเจ้าก็ยังคงเพราะความปรารถนาพระอาณาจักรของพระเจ้า เราต้องขอบคุณผู้ที่ได้รับการดลใจจากข่าวดีในท่ามกลางสิ่งต่างๆ ในยุคสมัยของเรา แสดงตัวท่ามกลางความมืดมนของโลกนี้ ฉายแสงและเปิดทางใหม่แห่งความไว้วางใจ

ให้ไว้ ณ สำนักวาติกัน วันที่ 24 มกราคม ค.ศ. 2017
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส

ไม่มีความคิดเห็น